คณะรัฐมนตรีเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านกฎหมาย ทางการเมือง และในทางอำนาจที่กำหนดไว้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 36 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คน
สาระการเรียนรู้ 1. คณะรัฐมนตรี และอำนาจหน้าที่ - คณะรัฐมนตรี - อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี - คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน 2. อำนาจของรัฐสภาในการควบคุมคณะรัฐมนตรี - มาตรการในการควบคุมมิให้นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ - องค์ประกอบของรัฐมนตรี - อำนาจของรัฐสภาในการควบคุมคณะรัฐมนตรี |
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
คณะรัฐมนตรี
รัฐสภา
|
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 5 เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
อ่านเพิ่มเติม |
พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย
|
การเมืองการปกครอง
ที่การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้อำนาจที่ได้มาเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน ส่วนการปกครองเป็นการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายที่รัฐมอบให้ดำเนินการ โดยมุ่งที่จะสร้าง ความผาสุก ความเป็นระเบียบ ความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมภายใต้รูปแบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ
สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับรัฐ - รัฐและการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ - องค์ประกอบของรัฐ - รูปแบบของรัฐ - ประเภทของรัฐ - วัตถุประสงค์ของรัฐ - หน้าที่ของรัฐ - การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ - หลักการใช้อำนาจในการปกครอง - แผนผังแสดงการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน 2. ระบอบประชาธิปไตย 3. ระบอบเผด็จการ อ่าเนเพิ่มเติม |
โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมไทยต้องให้ความร่วมมือ ในการร่วมแก้ไขปัญหา
สาระการเรียนรู้ 1.โครงสร้างทางสังคม - โครงสร้างของสังคมไทย - ลักษณะโครงสร้างทางสังคม - องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม - สถาบันสังคมที่สำคัญ 2. การจัดระเบียบทางสังคม - ความหมายของการจัดระเบียบสังคม - วิธีการจัดระเบียบทางสังคม - องค์ประกอบของการจัดระเบียบ - การควบคุมทางสังคม อ่านเพิ่มเติม |
หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมไทย
สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระการเรียนรู้ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย 1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ 2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ อ่านเพิ่มเติม |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)